ads by google

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แบ่งได้กี่ระยะ


การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ระยะด้วยกัน คือ

๑. ระยะไข่ตก (Ovulation) ได้แก่ ระยะ ๒ สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง ๑ ฟอง โดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ ๑๒-๑๖) ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก ๑ เป็น ๒ จาก ๔ เป็น ๘ จาก ๘ เป็น ๑๖ เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (morular) แล้วผ่านเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่ไข่ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและฝังตัว ตำแหน่งที่ไข่ฝังตัวนี้จะกลายเป็นรกในเวลาต่อมา เพื่อเป็นสื่อนำอาหารจากมารดามาเลี้ยงทารก ในขณะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์


๒. ระยะคัพภะ (Embryo) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๓-๗ หรือ ๘ เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย (organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา เป็นต้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุด สำหรับการติดเชื้อหรือการกินยาบางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้


๓. ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ ๗ หรือ ๘-๔๐ เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะ เพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น


ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ ๒๘ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๓๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไขเคลือบทั่ว อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานได้ ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม

เมื่ออายุครรภ์ครบ ๓๒ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๖๐๐-๒,๐๐๐ กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้ มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น


เมื่ออายุครรภ์ครบ ๓๖ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๒,๐๐๐-๒,๔๐๐ กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่าง ๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่


และเมื่ออายุครบ ๔๐ สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่าง ๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร น้ำหนักไม่ควรน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สลายขึ้น

การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์

เมื่อหญิงย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือ เริ่มมีประจำเดือน จะมีไข่สุกและหลุดออกจากรังไข่ ในระยะนี้ถ้ามีการร่วมเพศ ตัวอสุจิของชายจำนวนหลายล้านตัวจะแหวกว่ายผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกจนถึงท่อนำไข่และจะมีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่สามารถเข้าผสมกับไข่ได้ การผสมระหว่างไข่และอสุจิ เรียกว่า การปฏิสนธิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์

หลังจากเกิดการปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว ตัวอสุจิกับไข่จะรวมเป็นเซลล์เดียวกัน เรียกว่า ไซโกต ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวแบบทวีคูณจากหนึ่งเซลล์เป็นสองเซลล์จากสองเซลล์เป็นสี่เซลล์ จากสี่เซลล์เป็นแปดเซลล์ เรื่อยไปตามลำดับจนได้หลายเซลล์ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อน การบีบตัวของท่อนำไข่จะทำให้ก้อนนี้เคลื่อนเข้าสู่โพรงมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ ๗-๘ วัน แล้วฝังตัวที่ผนังชั้นในของมดลูกหรือเยื้อบุโพรงมดลูก เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ ๒๖๐ วัน หรือ ๓๗ สัปดาห์ จึงจะครบกำหนดคลอด



อาการของการตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง ซึ่งอาจช่วยให้ทราบได้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่ อาการเหล่านี้ ได้แก่
๑. ประจำเดือดขาดหายไป เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกของการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้วและเคยมีประจำเดือนมาตรงตามเวลา แต่โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หรือความวิตกกังวล ก็อาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาดหายไป หรือไม่มาตามกำหนดได้

๒. มีอาการแพ้ท้อง
 เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ น้ำลายออกมากกว่าปกติ อยากกินของเปรี้ยว ๆ หรือของแปลก ๆ ได้กลิ่นต่าง ๆ มากผิดธรรมดา บางครั้งมีอารมณ์อ่อนไหว โกรธง่าย ใจน้อย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ประมาณสองในสามของผู้ตั้งครรภ์และเกิดขึ้นมากหรือน้อยแตกต่างกันไป


๓. มีอาการเปลี่ยนแปลงของเต้านมและหัวนม
ตามปกติก่อนประจำเดือนจะมาเล็กน้อย เต้านมจะคัดตึงและกดเจ็บ เมื่อตั้งครรภ์จะมีอาการเหล่านี้เพิ่มขึ้น เต้านมอาจมีขนาดโตขึ้น หัวนมและผิวหนังบริเวณลานหัวนมจะมีสีคล้ำมามากขึ้น โดยเฉพาะครรภ์แรกจะสังเกตเห็นได้ง่าย และในระยะครรภ์แก่อาจจะมีน้ำนมไหลออกมา


๔. ถ่ายปัสสาวะบ่อย แต่ไม่แสบ ไม่ขัด หรือขุ่น อาการนี้จะพบในอายุครรภ์ ๒-๓ เดือนแรก เนื่องจากมดลูกไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ และจะมีอาการนี้อีกครั้งในเดือนสุดท้ายของครรภ์ เนื่องจากศีรษะเด็กไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ

๕. คลำพบก้อนที่บริเวณเหนือหัวหน่าว ซึ่งจะคลำได้เมื่ออายุครรภ์เกิน ๓ เดือนไปแล้ว แต่ในคนผอมอาจจะคลำพบก่อนระยะนี้ก็ได้

๖. เด็กดิ้น ในครรภ์แรกแม่จะรู้สึกว่าเด็กดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ ๒๐ สัปดาห์ สำหรับผู้ที่เคยมีบุตรมาแล้วจะรู้สึกเร็ว คือ อายุครรภ์ประมาณ ๑๘ สัปดาห์

14 อุปนิสัยในการขับถ่ายปัสสาวะ


วิธีขับถ่ายปัสสาวะ

ไม่น่าเชื่อว่า แม้คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะกันมาก ตั้งแต่แรกเกิด แต่หลายคนไม่ทราบวิธีที่ดีที่ทำให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นปกติ 

วันนี้จะขอเสนอ ๑๔ อุปนิสัยที่ดีในการขับถ่ายปัสสาวะ

๑.อย่ากลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดต้องไปปัสสาวะ


๒.เวลาปัสสาวะไม่ควรรีบร้อนเบ่งมาก เพราะอาจทำให้หูรูดปัสสาวะชำรุดได้


๓.ควรถ่ายปัสสาวะให้เหลือน้อยที่สุดในหนึ่งครั้ง นั่นคือเมื่อรู้สึกถ่ายหมดแล้วให้เบ่งต่ออีกนิดหน่อย ปัสสาวะที่เหลือจะไหลออกมา


๔.ไม่ควรบังคับให้ตนเองถ่ายปัสสาวะบ่อย เพราะจะติดเป็นนิสัย เวลาที่เหมาะสมคือ ๒-๔ ชั่วโมงควรถ่ายปัสสาวะหนึ่งครั้ง


๕.ให้สังเกตการถ่ายปัสสาวะ และน้ำปัสสาวะของตนเองทุกครั้งว่า ต้องเบ่งมากผิดปกติหรือไม่ น้ำปัสสาวะลำพุ่งดีหรือไม่ ลำน้ำปัสสาวะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมหรือไม่ น้ำปัสสาวะมีสีเหลืองใสหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการผิดปกติที่สามารถบอกโรคได้


๖.อาจจะล้างทำความสะอาดหลังปัสสาวะ แต่อย่าให้บริเวณนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเกิดเชื้อราได้ ทางที่ดีหลังปัสสาวะทุกครั้ง ควรซับให้แห้ง


๗.เมื่อปัสสาวะไม่ออก ต้องหาสาเหตุโดยการไปพบแพทย์ อย่าซื้อยาขับปัสสาวะรับประทาน เพราะจะเกิดอันตรายได้


๘.เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน การบริหารอุ้งเชิงกรานโดยการขมิบ (ฝ่ายหญิงขมิบช่องคลอด ฝ่ายชายขมิบทวารหนัก) วันละ ๑๐๐ ครั้ง จะช่วยป้องกันอาการปัสสาวะเล็ด


๙.ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ ๑๐ แก้ว หรือหนึ่งลิตร จะช่วยให้น้ำปัสสาวะใส มีจำนวนพอดี และป้องกันภาวะปัสสาวะอักเสบ


๑๐.ก่อนมีเพศสัมพันธ์ และหลังมีเพศสัมพันธ์ คุณผู้หญิงควรถ่ายปัสสาวะทิ้ง จะช่วยป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ


๑๑.น้ำปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำเท่านั้น ถ้ามีมูก หนอง น้ำเหลือง เลือดปนออกมา ถือว่าผิดปกติต้องไปพบแพทย์


๑๒.การขับถ่ายปัสสาวะ ต้องขับถ่ายคล่องไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้าปัสสาวะแสบขัดลำบาก นับว่าเป็นอาการผิดปกติ ต้องไปพบแพทย์อีกเช่นกัน


๑๓.คนเราทุกคนต้องปัสสาวะทุกวัน วันละ ๔-๖ ครั้ง ถ้าไม่ปัสสาวะเลย ๑ วัน ถือว่าตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน


๑๔.ก่อนเดินทางไกล ก่อนยกของหนัก ควรปัสสาวะทิ้งก่อนทุกครั้ง




ขอขอบคุณข้อมูลจาก   fwdder.com

การตกไข่ ของเพศหญิง



การตกไข่  หมายถึง  การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1. ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2.  ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่  ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จาก นั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 - 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก   ครูอุกฤษฏ์ เดชอินทร์

อวัยวะ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง




ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง  ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
 
1.  รังไข่   

ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
 
2.  ท่อนำไข่  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ  6 - 7 เซนติเมตร
 
3.  มดลูก  มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์

4. ช่องคลอด  อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

อวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศชาย


 ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้

1. อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum) 
            อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 Cm หนาประมาณ 2-3 Cm หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกันอยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่นเสียงห้าว มีหนวดเครา

2. หลอดเก็บตัวอสุจิ 
          เป็นที่พักของตัวอสุจิที่สร้างจากหลอดสร้างตัวอสุจิจะอยู่บริเวณด้านบนของอัณฑะต่อเชื่อมกับหลอดนำตัวอสุจิ

3. หลอดนำตัวอสุจิ  อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)  อยู่ต่อจากหลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส และสารประกอบอื่นๆที่ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะกับตัวอสุจิ

5. ต่อมลูกหมาก (prostate gland) อยู่บริเวณช่วงของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารบางชนิดที่เป็น
เบสอย่างอ่อน เข้าไปใน
ท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิและสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว

6. ต่อมคาวเปอร์ (cowper gland) มีหน้าที่หลั่งสารที่เป็นของเหลวใสๆ ไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณ ะเกิดการกระตุ้นทางเพศ หรือมีอารมณ์ทางเพศ 

7. อวัยวะเพศชาย (pennis) เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมากภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัว อสุจิและน้ำปัสสาวะ

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อวัยวะเพศภายใน เพศหญิง

มดลูก (Uterus) 
        มดลูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเป็นผนังหนา ซึ่งเป็นที่ฟูมฟักการเจริญเติบโตของทารกช่วงที่อยู่ในครรภ์ โดยปกติจะมีขนาดยาว 3 นิ้ว รูปร่างคล้ายลูกแพร์ หรือ ชมพู่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 –3 นิ้ว ที่บริเวณช่วงบนมีปากมดลูกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ออก มดลูกแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ตัวมดลูก (body) และปากมดลูก หรือคอมดลูก บริเวณรอยต่อของทั้งสองส่วนคือ อิสธ์มัส (isthmus) ปากมดลูกจะไม่ไวต่อผิวสัมผัส แต่จะไวต่อการกดบริเวณปากมดลูกจะมีช่องเปิดเรียกว่า ช่องปากมดลูก (os) ภายในโพรงมดลูกจะกว้างแตกต่างกันในแต่ละส่วน ผนังมดลูกมี 3 ชั้น ชั้นนอกมีลักษณะบาง เรียกว่า เพอริมีเทรียม (perimetrium) ส่วนกลางเป็นกล้ามเนื้อที่หนา เรียกว่า มัยโอมีเทรียม (myometrium) และชั้นในมีเส้นเลือดและต่อมอยู่มากมาย เรียกว่า เอ็นโดมีเทรียม (endometrium) ผนังมดลูกชั้นในนี้เป็นส่วนสำคัญในการมีประจำเดือนและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo) 

รังไข่และท่อนำไข่ (Ovaries and fallopian tube) 
รังไข่ มีอยู่ 2 ข้างทางปีกซ้ายและขวาของท่อรังไข่ ทำหน้าที่สร้างไข่ และผลิตฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน (estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (progesterone) ในแต่ละเดือน รังไข่จะสร้างไข่สลับกันซ้าย-ขวา ไข่ที่สร้างขึ้นจะสุกงอมและเกิดการตกไข่ในแต่ละเดือน หากไข่ไม่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิ ก็จะสลายตัวพร้อมกับการหลุดลอกของผนังมดลูก กลายเป็นประจำเดือน 

ในผู้หญิงที่โตเต็มวัย บริเวณผิวของรังไข่จะมีลักษณะเป็นหลุมขรุขระไม่เรียบ เนื่องจากมีไข่อยู่ภายในรังไข่ ภายในรังไข่จะมีฟอลลิเคิลหลายระยะตั้งแต่ระยะไข่อ่อนจนเป็นไข่สุก รังไข่แยกได้เป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นเนื้อกลาง (central medulla) และชั้นนอก (cortex) ส่วนที่พาดระหว่าง รังไข่ไปต่อกับส่วนบนของมดลูกนั้น คือ ท่อปีกมดลูก (follopian tubes) ปลายสุดของปีกมดลูกด้านที่ติดกับรังไข่จะมีลักษณะคล้ายมือ เรียกว่า ฟิมเบรีย (fimbriae) ซึ่งจะไม่ติดกับรังไข่ แต่จะอยู่รอบ รังไข่ ส่วนของท่อนำไข่ที่อยู่ติดกับฟิมเบรียนั้น เรียกว่า อินฟันดิบูลัม (infundibulum) เป็นส่วนที่หนาที่สุดของท่อนำไข่ ภายในท่อนำไข่จะเป็นรูแคบ ๆ ตลอดแนวของท่อนำไข่ ภายในจะคลุมด้วยขนอ่อน ๆ เล็ก ๆ เรียกว่า ซีเลีย (cilia) การเคลื่อนไหวของซีเลียจะทำให้ไข่เคลื่อนไหวไปตามท่อนำไข่ไปสู่มดลูก ถ้ามีการผสมของไข่กับสเปอร์มก็จะเกิดขึ้นภายในท่อนำไข่นี้และซีเลีย(ขนเล็กๆ) ก็จะเคลื่อนไหวทำให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วเข้าไปฝังตัวในมดลูก และเจริญเติบโตเป็นทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus) ต่อไป


อวัยวะเพศภายนอก เพศหญิง

อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง (Female sexual organs)

          อวัยวะเพศ ก็เป็นอวัยวะของร่างกาย เหมือนกับตา ปากและอื่นๆ การที่เรารู้จักร่างกายของเราทุกส่วน จะทำให้เราสามารถสังเกตอาการผิดปกติได้ และเกิดประสิทธิภาพในการรักษา อวัยวะเพศหญิง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อวัยวะเพศภายนอกและอวัยวะเพศภายใน 



โยนี (Vulva) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิง อยู่ระหว่างขาทั้งสองข้างและอยู่ด้านหน้าและใต้กระดูกหัวเหน่า โยนี (vulva) เป็นบริเวณที่ไวต่อการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศของผู้หญิง ประกอบด้วยส่วนที่เห็นได้ชัดเจนเป็นพิเศษคือ เนินหัวเหน่า (mons) และแคมใหญ่ (major libs/ labia majora)
  • เนินอวัยวะเพศ เป็นส่วนผิวหน้าคลุมเนื้อนูนเนื้อหัวเหน่า บริเวณนี้ประกอบด้วยผิวหนังนูนเป็นเนินของชั้นไขมัน เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีขนเจริญงอกคลุมเนินนูนไว้ และอยู่บนกระดูกหัวเหน่า มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม บริเวณเนินหัวเหน่านี้จะมีปลายประสาทมาเลี้ยงจำนวนมาก และผู้หญิงส่วนใหญ่พบว่าถ้าถูหรือลูบคลำบริเวณนี้จะกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
  • แคมใหญ่ จะปิดปุ่มคลิตอริสไว้ และจะยาวไปถึงด้านหลังก่อนถึงทวารหนัก แคมใหญ่จะหนาและมีขนปกคลุมอยู่ด้านนอก ส่วนด้านในจะมีสีคล้ำ และเป็นลายๆ มีลักษณะเป็นลอนของผิวหนัง 2 ลอน ซึ่งยื่นจากบริเวณหัวเหน่า (mons pubis) ลงมาบริเวณระหว่างขาทั้งสองข้าง มีลักษณะค่อนข้างแบน ในหญิงบางคนจะมีลักษณะบางไม่ชัดเจน แต่ในหญิงบางคนจะนูนหนา ในช่วงวัยรุ่นผิวของแคมใหญ่จะค่อนข้างคล้ำ และมีขนขึ้นที่ผิวด้านนอก แคมใหญ่จะปกคลุมและปกป้องอวัยวะเพศที่ไวต่อการสัมผัสที่อยู่ข้างในของผู้หญิง ถ้าไม่ถ่างแคมใหญ่ให้แยกออกจากกันจะไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นการที่จะตรวจดูด้วยตนเองจึงต้องถ่างขาออกให้แคมใหญ่แยกจากกันและใช้กระจกส่องดูส่วนอื่น ๆ ที่อยู่ภายใน จึงจะมองเห็นได้
  • แคมเล็ก จะเป็นส่วนที่เชื่อมติดกับปุ่มคลิตอริส แคมเล็กจะบางกว่าแคมใหญ่ สีสันจะแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ชมพูอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม บางคนอาจมีแคมใหญ่กว่าคนอื่น หรือบางคนอาจมีแคมเล็กห้อยออกมาใต้แคมใหญ่ก็ได้ ไม่มีขน มีลักษณะย่นและขอบไม่เท่ากัน ซึ่งจะทอดยาวขึ้นด้านบน กลายเป็นแผ่นคลุมปุ่มกระสัน หรือเม็ดละมุด (clitoris)
  • คลิตอริส หรือปุ่มกระสัน เทียบได้กับอวัยวะเพศชาย คือ องคชาต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งตัวขยายและหดตัวได้เล็กน้อย อยู่เหนือรูเปิดของช่องปัสสาวะเล็กน้อย สามารถแข็งตัวได้เช่นเดียวกับองคชาต หรือเม็ดละมุด (Clitoris) เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ที่ไวต่อการกระตุ้นทางเพศมาก การกระตุ้นปุ่มกระสันที่เหมาะสมทำให้ผู้หญิงบรรลุจุดสุดยอดได้ ปุ่มกระสันจะสังเกตได้ชัด เพราะเป็นปุ่มที่ยื่นออกมาจากผิวหนังที่คลุมอยู่ตรงรอยต่อด้านบนของแคมเล็ก

    ส่วนประกอบภายนอกของปุ่มกระสันประกอบด้วย ยอดของปุ่มมีลักษณะกลมเป็นส่วนหัว (glans) ส่วนก้าน (shaft) ทอดตัวอยู่ด้านหลังและใต้หนังหุ้มปุ่มกระสัน เรียกว่า หนังหุ้มปุ่มกระสัน (prepuce) ส่วนหัว (glans) เป็นส่วนเดียวที่เป็นอิสระ แต่โดยปกติจะเคลื่อนไหวได้น้อยมาก ส่วนก้าน (shaft) จะติดอยู่กับร่างกายซ่อนอยู่ด้านใน

    ปุ่มกระสัน (clitoris) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ (spongy tissue) จำนวน 2 แท่ง ปุ่มกระสันจะมีขนาดยาวกว่าหนึ่งนิ้วเพียงเล็กน้อย จะสามารถมองเห็นเพียงแค่ปลาย (glans) เท่านั้น แต่ถ้าแข็งตัวจะขยายใหญ่มากขึ้น ในช่วงเริ่มต้นของการกระตุ้น ใต้หนังหุ้มปุ่มกระสัน (prepuce of clitoris) จะมีต่อมเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ผลิตไขมันออกมาผสมกับสารคัดหลั่งตัวอื่น และเมื่อรวมตัวกันแล้วจะกลายเป็นสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า สเม็กม่า (smegma) หรือขี้เปียก ถ้าสเม็กม่าสะสมรอบก้านของปุ่มกระสันมากๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ อันจะนำมาซึ่งความเจ็บปวด
  • ช่องคลอด มีความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว มีความยืดหยุ่นที่จะยืดตัวตามความกว้างและความยาวได้ มีลักษณะเป็นท่อของกล้ามเนื้อเรียบ เป็นส่วนที่สำคัญของผู้หญิงในการให้ความสุขทางเพศ และเป็นทางเดินของน้ำอสุจิในการร่วมเพศระหว่างหญิงกับชาย ผนังกล้ามเนื้อของช่องคลอด ซึ่งยืดหยุ่นได้และย่นหดเป็นลอนคลื่น กล้ามเนื้อรอบ ๆ ทางเปิดช่องคลอดมี 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อหูรูดรอบช่องคลอด (sphincter vaginae) และกล้ามเนื้อยึดดึงทวารหนัก (levator ani) ผู้หญิงสามารถควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านี้ได้ในระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อนี้สามารถหดตัวและผ่อนคลายได้เหมือน ๆ กับกล้ามเนื้อหูรูดรอบ ๆ ทวารหนัก กล้ามเนื้อเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองเมื่อถึงจุดสุดยอด อย่างไรก็ตามการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ ช่องคลอดนี้ ไม่สามารถจะยึดให้องคชาตติดอยู่ภายในช่องคลอด (penis captivus)ได้ ในระหว่างที่มีการกระตุ้นทางเพศในผู้หญิงนั้น สารหล่อลื่นจะถูกขับออกมาหล่อลื่นช่องคลอดตลอดแนวของช่องคลอด
  • เยื่อพรหมจรรย์ คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่า เยื่อพรหมจรรย์เป็นเยื่อแผ่นบางๆ คล้ายกระดาษทิชชู ซึ่งฉีกขาดได้ง่าย เป็นสัญลักษณ์ของหญิงที่ไม่เคยร่วมเพศมาก่อน ที่จริงแล้วเยื่อพรหมจรรย์ไม่ใช่เยื่อบางๆ แต่เป็นขอบของเนื้อเยื่อที่มีลักษณะคล้ายวงแหวน เป็นขอบโดยรอบปากช่องคลอด อยู่ถัดจากปากช่องคลอดเข้ามาราว 1 ซม. ซึ่งจะฉีกขาดได้ง่ายจากการเล่นกีฬา หรือปั่นจักรยาน

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ท่อนำไข่ (Oviduct)

ท่อนำไข่ (Oviduct) หรือ ปีกมดลูก (Fallopian) เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ภายในกลวง มีเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนาดปรกติเท่ากับเข็มถักไหมพรหม ยาวประมาณ 6  7 เซนติเมตร หนา  1 เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมีปลายข้างหนึ่งอยู่ใกล้กับรังไข่เรียกว่า ปากแตร (Funnel)บุด้วยเซลล์ที่มีขนสั้น ๆ ทำหน้าที่พัดโบกไข่ที่ตกลงมาจากรังไข่ให้เข้าไปในท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่

รังไข่ (Ovary)


รังไข่ (Ovary) มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2  3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2  3 กรัม และมี 2 อัน อยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้าง ทำหน้าที่ดังนี้
1.1 ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง โดยปรกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน และออกจากไข่ทุกรอบเดือนเรียกว่า การตกไข่ ตลอดช่วงชีวิตของเพศหญิงปรกติจะมีการผิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง
1.2 ร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่
1) เอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากฟอลลิเคิล ทำหน้ามี่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก ตะโพกผาย หน้าอกและอวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น
2) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากคอร์ปัส ลูเทียม ทำงานร่วมกับเอสโตรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับการเจริญของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง


ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง




   ช่องคลอดจะเปิดออกภายนอกที่โยนีซึ่งประกอบด้วยแคม คลิตอริส และท่อปัสสาวะ ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์บริเวณเหล่านี้จะหล่อลื่นด้วยเมือกซึ่งคัดหลังจากต่อมบาร์โธลีน (Bartholin's glands) ช่องคลอดต่อเนื่องกับมดลูกโดยมีปากมดลูกอยู่ระหว่างกลาง ในขณะที่มดลูกต่อเนื่องกับรังไข่ผ่านทางท่อนำไข่ ในทุกๆ ช่วงรอบประมาณ 28 วันรังไข่จะปล่อยไข่ออกมาผ่านท่อนำไข่เข้าไปยังมดลูก เยื่อบุมดลูกซึ่งดาดอยู่ด้านในมดลูกและไข่ที่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิจะไหลออกและถูกกำจัดออกไปทุกรอบเดือน ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การมีประจำเดือน (menstruation)ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วยอวัยวะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ช่องคลอดทำหน้าที่รองรับอสุจิจากเพศชาย, มดลูกซึ่งช่วยรองรับทารกในครรภ์ และรังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่ เต้านมก็เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระยะการดูแลทารก

ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศหญิงได้แก่ การมีร่างกายเล็กกว่าเพศชาย ร่างกายมีร้อยละของไขมันสูง สะโพกกว้างขึ้น การเจริญของต่อมน้ำนมและเต้านมขยายขนาด ฮอร์โมนเพศที่สำคัญในเพศหญิงคือเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน

อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงภายนอก 1. ขนหัวหน่าว, 2.หนังหุ้มคลิตอริส, 3. คลิตอริส, 4. แคมใหญ่, 5. แคมเล็ก (ปิดช่องคลอด), 6. ฝีเย็บ


ต่อมเสริม


  • ต่อมเสริม (accessory glands) เป็นต่อมที่สร้างสารอาหารเลี้ยงตัวอสุจิ และช่วยอำนวยความสะดวกในการลำเลียงตัวอสุจิออกสู่ภายนอก ได้แก่ ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ (seminal vesicle) ต่อมลูกหมาก (prostate gland) และต่อมคาวเปอร์ (Cowper''s gland)
  • ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ ลักษณะเป็นท่อ 2 ท่อขดไปมา ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิซึ่งได้แก่ น้ำตาลฟรุกโตส และวิตามินซี
  • ต่อมลูกหมาก ทำหน้าที่สร้างสารสีขาวคล้ายน้ำนมซึ่งมีกลิ่นเฉพาะตัว สารจากต่อมลูกหมากมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ ช่วยลดความเป็นกรดในท่อปัสสาวะและป้องกันอันตรายจากความเป็นกรดในช่องคลอดของฝ่ายหญิง ต่อมลูกหมากจะมีขนาดโตขึ้นเมื่อชายมีอายุมากขึ้น ต่อมลูกหมากอยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อปรับความเป็นกรดเบสเมื่อผ่านเข้าภายในช่องคลอด และสารสีขาวเพื่อช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว ขณะเคลื่อนเข้าไปในท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ
  • ต่อมคาวเปอร์ อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก มี 2 ต่อมขนาดเท่าเมล็ดถั่ว ทำหน้าที่ในการหลั่งสารเหลวใสและเหนียวเพื่อหล่อลื่นในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ สารคัดหลั่งที่สร้างมาจากต่อมคาวเปอร์ช่วยลดความเป็นกรดของน้ำปัสสาวะที่อยู่ในท่อ

ท่อทางเดินของตัวอสุจิ


  • ท่อทางเดินของตัวอสุจิ เป็นท่อนำตัวอสุจิจากอัณฑะออกไปสู่ภายนอก ประกอบด้วยหลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis), ท่อนำตัวอสุจิ (vas deferens), ท่อฉีดตัวอสุจิ (ejaculatory duct) และท่อปัสสาวะ (urethra)
  • หลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ในการเก็บตัวอสุจิ และสร้างอาหารเลี้ยงตัวอสุจิ โดยตัวอสุจิจะถูกพักไว้นานถึง 6 สัปดาห์ จนกระทั่งแข็งแรงและพร้อมที่จะผสมกับไข่ได้ต่อไป หลอดเก็บตัวอสุจิอยู่ด้านบนของอัณฑะ มีลักษณะเป็นท่อๆเล็ก ยาวประมาณ 6 เมตร ขดไปมาทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ หลอดเก็บตัวอสุจิทำหน้าที่พักตัวอสุจิสะสมไว้ในอัณฑะ
  • ท่อนำตัวอสุจิ เป็นท่อที่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิลงมา มีความยาวประมาณ 18 นิ้ว ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิ การทำหมันถาวรในเพศชายเป็นการผูกหรือตัดท่อนำตัวอสุจินี้เอง ท่อนำตัวอสุจิทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ นำอสุจิจากอัณฑะไปยังต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ และเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
  • ท่อฉีดตัวอสุจิ ทำหน้าที่ในการบีบตัวปล่อยตัวอสุจิสู่ภายนอก

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อัณฑะ


  • อัณฑะเป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อัน เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้อยู่ในถุงอัณฑะ ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงห้อยย้อยภายนอกร่างกาย 2 ถุง มีลักษณะเป็นรูปไข่ ขนาดประมาณ 4x2.5x2 เซนติเมตร หนัก 10-15 กรัม ปกติอัณฑะทางด้านซ้ายจะอยู่ต่ำกว่าทางด้านขวาประมาณ 1 เซนติเมตร
  • ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมนเพศชาย เพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น การมีหนวด เครา เสียงห้าว ฮอร์โมนเพศชายที่สำคัญคือ testosterone การสร้างตัวอสุจิเกิดขึ้นโดยเซลล์ของผิวภายในหลอดจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เพื่อให้ได้เซลล์สืบพันธุ์ซึ่งมีโครโมโซมลดลงจาก 2n เหลือเพียง n เดียว
  • โครงสร้างภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ มีข้างละประมาณ 800 หลอด ยาวทั้งหมดประมาณ 800 เมตร อัณฑะถูกหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนาที่เรียกว่า tunica albuginea ซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแบ่งอัณฑะออกเป็นโลบูลเล็ก ๆ ประมาณ 200-300 โลบูล ภายในแต่ละโลบูลประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ และเซลล์เลย์ดิกแทรกอยู่ทั่วไป ซึ่งจะขดไปรวมความยาวทั้งหมดของหลอดสร้างตัวอสุจิแล้วประมาณ 225 เมตร หลอดสร้างตัวอสุจิแต่ละหลอดมาบรรจบกันเป็นท่อตรง แล้วประสานกันเป็นตาข่าย ต่อจากนั้นส่วนตาข่ายก็จะรวมกันกลายเป็นท่อขาออก ทะลุเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนาเชื่อมต่อกับส่วนหัวของหลอดเก็บตัวอสุจิ
  • หลอดสร้างตัวอสุจิ ลักษณะเป็นท่อที่ขดไปขดมา การสร้างสเปิร์มจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจากอัณฑะ 
  • เนื้อเยื่ออินเตอร์สติเชียล เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิ ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่หลักในการสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุมลักษณะทางเพศขั้นที่สอง เช่น เสียงแตก มีหนวด การขยายขนาดของอวัยวะเพศ การมีขนที่อวัยวะเพศ การมีความต้องการทางเพศ เป็นต้น
  • เรตีเทสทีส (rete testis) เป็นท่อรวมของหลอดสร้างตัวอสุจิ ทำหน้าที่หลักเป็นทางผ่านของตัวอสุจิไปยังหลอดเก็บตัวอสุจิต่อไป 
  • ถุงหุ้มอัณฑะอยู่นอกช่องท้อง ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอุณหภูมิจะต่ำกว่าในร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะเป็นส่วนผิวหนังที่มีลักษณะเป็นถุงยื่นออกมาจากส่วนล่างของผนังหน้าท้องบริเวณส่วนกลางของถุงอัณฑะมีสันนูนคล้ายรอยเย็บ ซึ่งจะให้ผนังแทรกเข้าไปภายในแยกออกเป็น 2 ถุง ภายในถุงอัณฑะแต่ละข้างประกอบด้วย อัณฑะ หลอดเก็บตัวอสุจิ และปลายด้านล่างของ spermatid cord ผิวหนังของถุงอัณฑะบางและเป็นรอยย่น เนื่องจากในชั้นผิวหนังของถุงอัณฑะมีกล้ามเนื้อเรียบดาร์โทส ซึ่งถูกเลี้ยงโดยระบบประสาทอัตโนมัติชนิดซิมพาเตติก กล้ามเนื้อดาร์โทสจะทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของอัณฑะให้คงที่ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างและการพัฒนาของตัวอสุจิ ที่ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส


อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก เป็นอวัยวะส่วนที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ประกอบด้วยองคชาติซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศ เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะออกสู่ภายนอก ภายในองคชาติประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้ ส่วนปลายสุดจะพองออก อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอกที่มองเห็นได้อีกอย่าง คือ ถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นส่วนของผิวหนังที่ยื่นออกมาจากช่องท้อง เนื่องจากอัณฑะที่อยู่ในช่องท้องเลื่อนลงมา ถุงอัณฑะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้แก่อัณฑะ โดยอุณหภูมิของถุงอัณฑะจะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการสร้างอสุจิ สำหรับอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายใน เป็นส่วนที่อยู่ภายใน ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก 


ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย 


               ระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศชายและเพศหญิง เป็นระบบที่สำคัญต่อการดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน โดยจะทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์และเลี้ยงดูจนกลายเป็นตัวเต็มวัยออกมา โดยมีสารพันธุกรรมจากพ่อและแม่เป็นตัวกำหนดลักษณะตลอดจนเพศของลูกตั้งแต่มีการปฏิสนธิ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอกของเพศชายและเพศหญิง จะมีการพัฒนามาตั้งแต่ระยะที่อยู่ในท้องของแม่แล้ว โดยจะมีการพัฒนาควบคู่มากับระบบขับถ่าย ผลจาก Y chromosome ในตัวอ่อนเพศชายจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาอวัยวะของระบบสืบพันธุ์ชาย แต่ในตัวอ่อนเพศหญิงไม่มี Y chromosome จึงมีการพัฒนาให้เป็นอวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงแทน


            ระบบสืบพันธุ์เพศชาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ ตัวอสุจิและทำหน้าที่ในการนำส่งตัวอสุจิเข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อผสมกับเซลล์ไข่ต่อไป นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย โดยทั่วไป เพศชายจะเข้าสู่วัยที่สร้างตัวอสุจิ เมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี สร้างไปตลอดชีวิต การหลั่งอสุจิแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาประมาณ 3-4 ลบ.ซม. ตัวอสุจิประมาณ 350-500 ล้านตัว ผู้ที่มีตัวอสุจิต่ำกว่า 30 ล้านตัวนั้นจะเป็นหมัน ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้ประมาณ 1-3 มิลิเมตร ต่อนาที ตัวอสุจิเมื่อเคลื่อนที่ออกภายนอกมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 ชม. ถ้าอยู่ในมดลูกผู้หญิง จะอยู่ได้นานถึง 24-48 ชม.