ads by google

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แบ่งได้กี่ระยะ


การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ระยะด้วยกัน คือ

๑. ระยะไข่ตก (Ovulation) ได้แก่ ระยะ ๒ สัปดาห์แรก ปกติเดือนหนึ่งจะมีไข่ตกเพียง ๑ ฟอง โดยประมาณช่วงกลางของรอบเดือน (วันที่ ๑๒-๑๖) ไข่จะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในท่อนำไข่ (ส่วนโป่ง) ถ้ามีการร่วมเพศในระยะนั้น อสุจิตัวหนึ่งจากจำนวนหลายล้านตัว จะเข้าผสมกับไข่ แล้วมีการแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก ๑ เป็น ๒ จาก ๔ เป็น ๘ จาก ๘ เป็น ๑๖ เป็นต้น เมื่อมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้น จะโตเป็นก้อนดูคล้ายผลน้อยหน่า ระยะนี้เรียกว่า ระยะมอรูลาร์ (morular) แล้วผ่านเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ (blastocyst) ซึ่งเป็นระยะที่ไข่ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและฝังตัว ตำแหน่งที่ไข่ฝังตัวนี้จะกลายเป็นรกในเวลาต่อมา เพื่อเป็นสื่อนำอาหารจากมารดามาเลี้ยงทารก ในขณะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์


๒. ระยะคัพภะ (Embryo) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๓-๗ หรือ ๘ เป็นระยะที่มีการสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย (organogenesis) เช่น หัวใจ ตา หู ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ แขน ขา เป็นต้น ระยะนี้เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุด สำหรับการติดเชื้อหรือการกินยาบางอย่าง เพราะอาจทำให้เด็กที่เกิดมานั้นพิการได้


๓. ระยะตัวอ่อน (Fetus) ได้แก่ ระยะตั้งแต่สัปดาห์ ๗ หรือ ๘-๔๐ เป็นระยะของการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ที่เริ่มสร้างขึ้นในระยะคัพภะ เพื่อที่จะให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์เมื่อตัวอ่อนคลอดมาเป็นทารก เช่น ระบบประสาท ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น


ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ ๒๘ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๓๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไขเคลือบทั่ว อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานได้ ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม

เมื่ออายุครรภ์ครบ ๓๒ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๖๐๐-๒,๐๐๐ กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้ มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น


เมื่ออายุครรภ์ครบ ๓๖ สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๒,๐๐๐-๒,๔๐๐ กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่าง ๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่


และเมื่ออายุครบ ๔๐ สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่าง ๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร น้ำหนักไม่ควรน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สลายขึ้น

การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์

เมื่อหญิงย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือ เริ่มมีประจำเดือน จะมีไข่สุกและหลุดออกจากรังไข่ ในระยะนี้ถ้ามีการร่วมเพศ ตัวอสุจิของชายจำนวนหลายล้านตัวจะแหวกว่ายผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกจนถึงท่อนำไข่และจะมีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่สามารถเข้าผสมกับไข่ได้ การผสมระหว่างไข่และอสุจิ เรียกว่า การปฏิสนธิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์

หลังจากเกิดการปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว ตัวอสุจิกับไข่จะรวมเป็นเซลล์เดียวกัน เรียกว่า ไซโกต ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวแบบทวีคูณจากหนึ่งเซลล์เป็นสองเซลล์จากสองเซลล์เป็นสี่เซลล์ จากสี่เซลล์เป็นแปดเซลล์ เรื่อยไปตามลำดับจนได้หลายเซลล์ มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อน การบีบตัวของท่อนำไข่จะทำให้ก้อนนี้เคลื่อนเข้าสู่โพรงมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ ๗-๘ วัน แล้วฝังตัวที่ผนังชั้นในของมดลูกหรือเยื้อบุโพรงมดลูก เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ ๒๖๐ วัน หรือ ๓๗ สัปดาห์ จึงจะครบกำหนดคลอด



อาการของการตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง ซึ่งอาจช่วยให้ทราบได้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่ อาการเหล่านี้ ได้แก่
๑. ประจำเดือดขาดหายไป เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกของการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้วและเคยมีประจำเดือนมาตรงตามเวลา แต่โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หรือความวิตกกังวล ก็อาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาดหายไป หรือไม่มาตามกำหนดได้

๒. มีอาการแพ้ท้อง
 เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ น้ำลายออกมากกว่าปกติ อยากกินของเปรี้ยว ๆ หรือของแปลก ๆ ได้กลิ่นต่าง ๆ มากผิดธรรมดา บางครั้งมีอารมณ์อ่อนไหว โกรธง่าย ใจน้อย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ประมาณสองในสามของผู้ตั้งครรภ์และเกิดขึ้นมากหรือน้อยแตกต่างกันไป


๓. มีอาการเปลี่ยนแปลงของเต้านมและหัวนม
ตามปกติก่อนประจำเดือนจะมาเล็กน้อย เต้านมจะคัดตึงและกดเจ็บ เมื่อตั้งครรภ์จะมีอาการเหล่านี้เพิ่มขึ้น เต้านมอาจมีขนาดโตขึ้น หัวนมและผิวหนังบริเวณลานหัวนมจะมีสีคล้ำมามากขึ้น โดยเฉพาะครรภ์แรกจะสังเกตเห็นได้ง่าย และในระยะครรภ์แก่อาจจะมีน้ำนมไหลออกมา


๔. ถ่ายปัสสาวะบ่อย แต่ไม่แสบ ไม่ขัด หรือขุ่น อาการนี้จะพบในอายุครรภ์ ๒-๓ เดือนแรก เนื่องจากมดลูกไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ และจะมีอาการนี้อีกครั้งในเดือนสุดท้ายของครรภ์ เนื่องจากศีรษะเด็กไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ

๕. คลำพบก้อนที่บริเวณเหนือหัวหน่าว ซึ่งจะคลำได้เมื่ออายุครรภ์เกิน ๓ เดือนไปแล้ว แต่ในคนผอมอาจจะคลำพบก่อนระยะนี้ก็ได้

๖. เด็กดิ้น ในครรภ์แรกแม่จะรู้สึกว่าเด็กดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ ๒๐ สัปดาห์ สำหรับผู้ที่เคยมีบุตรมาแล้วจะรู้สึกเร็ว คือ อายุครรภ์ประมาณ ๑๘ สัปดาห์

14 อุปนิสัยในการขับถ่ายปัสสาวะ


วิธีขับถ่ายปัสสาวะ

ไม่น่าเชื่อว่า แม้คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะกันมาก ตั้งแต่แรกเกิด แต่หลายคนไม่ทราบวิธีที่ดีที่ทำให้ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นปกติ 

วันนี้จะขอเสนอ ๑๔ อุปนิสัยที่ดีในการขับถ่ายปัสสาวะ

๑.อย่ากลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดต้องไปปัสสาวะ


๒.เวลาปัสสาวะไม่ควรรีบร้อนเบ่งมาก เพราะอาจทำให้หูรูดปัสสาวะชำรุดได้


๓.ควรถ่ายปัสสาวะให้เหลือน้อยที่สุดในหนึ่งครั้ง นั่นคือเมื่อรู้สึกถ่ายหมดแล้วให้เบ่งต่ออีกนิดหน่อย ปัสสาวะที่เหลือจะไหลออกมา


๔.ไม่ควรบังคับให้ตนเองถ่ายปัสสาวะบ่อย เพราะจะติดเป็นนิสัย เวลาที่เหมาะสมคือ ๒-๔ ชั่วโมงควรถ่ายปัสสาวะหนึ่งครั้ง


๕.ให้สังเกตการถ่ายปัสสาวะ และน้ำปัสสาวะของตนเองทุกครั้งว่า ต้องเบ่งมากผิดปกติหรือไม่ น้ำปัสสาวะลำพุ่งดีหรือไม่ ลำน้ำปัสสาวะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมหรือไม่ น้ำปัสสาวะมีสีเหลืองใสหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการผิดปกติที่สามารถบอกโรคได้


๖.อาจจะล้างทำความสะอาดหลังปัสสาวะ แต่อย่าให้บริเวณนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเกิดเชื้อราได้ ทางที่ดีหลังปัสสาวะทุกครั้ง ควรซับให้แห้ง


๗.เมื่อปัสสาวะไม่ออก ต้องหาสาเหตุโดยการไปพบแพทย์ อย่าซื้อยาขับปัสสาวะรับประทาน เพราะจะเกิดอันตรายได้


๘.เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน การบริหารอุ้งเชิงกรานโดยการขมิบ (ฝ่ายหญิงขมิบช่องคลอด ฝ่ายชายขมิบทวารหนัก) วันละ ๑๐๐ ครั้ง จะช่วยป้องกันอาการปัสสาวะเล็ด


๙.ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ ๑๐ แก้ว หรือหนึ่งลิตร จะช่วยให้น้ำปัสสาวะใส มีจำนวนพอดี และป้องกันภาวะปัสสาวะอักเสบ


๑๐.ก่อนมีเพศสัมพันธ์ และหลังมีเพศสัมพันธ์ คุณผู้หญิงควรถ่ายปัสสาวะทิ้ง จะช่วยป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ


๑๑.น้ำปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำเท่านั้น ถ้ามีมูก หนอง น้ำเหลือง เลือดปนออกมา ถือว่าผิดปกติต้องไปพบแพทย์


๑๒.การขับถ่ายปัสสาวะ ต้องขับถ่ายคล่องไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้าปัสสาวะแสบขัดลำบาก นับว่าเป็นอาการผิดปกติ ต้องไปพบแพทย์อีกเช่นกัน


๑๓.คนเราทุกคนต้องปัสสาวะทุกวัน วันละ ๔-๖ ครั้ง ถ้าไม่ปัสสาวะเลย ๑ วัน ถือว่าตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน


๑๔.ก่อนเดินทางไกล ก่อนยกของหนัก ควรปัสสาวะทิ้งก่อนทุกครั้ง




ขอขอบคุณข้อมูลจาก   fwdder.com

การตกไข่ ของเพศหญิง



การตกไข่  หมายถึง  การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1. ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่ อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2.  ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่  ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก จาก นั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 - 55 ปี จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก   ครูอุกฤษฏ์ เดชอินทร์

อวัยวะ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง




ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง  ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้
 
1.  รังไข่   

ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูกจะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
 
2.  ท่อนำไข่  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ  6 - 7 เซนติเมตร
 
3.  มดลูก  มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์

4. ช่องคลอด  อยู่ต่อจากมดลูกลงมา ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

อวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศชาย


 ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ดังนี้

1. อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum) 
            อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 Cm หนาประมาณ 2-3 Cm หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกันอยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่นเสียงห้าว มีหนวดเครา

2. หลอดเก็บตัวอสุจิ 
          เป็นที่พักของตัวอสุจิที่สร้างจากหลอดสร้างตัวอสุจิจะอยู่บริเวณด้านบนของอัณฑะต่อเชื่อมกับหลอดนำตัวอสุจิ

3. หลอดนำตัวอสุจิ  อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ

4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)  อยู่ต่อจากหลอดนำตัวอสุจิ ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส และสารประกอบอื่นๆที่ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะกับตัวอสุจิ

5. ต่อมลูกหมาก (prostate gland) อยู่บริเวณช่วงของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารบางชนิดที่เป็น
เบสอย่างอ่อน เข้าไปใน
ท่อปัสสาวะปนกับน้ำเลี้ยงอสุจิและสารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว

6. ต่อมคาวเปอร์ (cowper gland) มีหน้าที่หลั่งสารที่เป็นของเหลวใสๆ ไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณ ะเกิดการกระตุ้นทางเพศ หรือมีอารมณ์ทางเพศ 

7. อวัยวะเพศชาย (pennis) เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่ แต่เมื่อถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมากภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัว อสุจิและน้ำปัสสาวะ